เกี่ยวกับโครงการ

 
ผลโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ เชิงคุณภาพ
ผลโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ  เชิงคุณภาพ  
( ๒๕๔๕ - ๒๕๕๖ )

๑. พระภิกษุสงฆ์ มหาเถรสมาคม  กรมการศาสนา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มหาวิทยาลัยสงฆ์  และองค์กรภาคเอกชนหลายแห่ง เช่นมูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ  กลุ่มกัลยาณมิตรเพื่อการเสริมสร้างเครือข่ายวิถีพุทธ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ฯลฯ ให้การสนับสนุนโรงเรียนวิถีพุทธ  เพราะเห็นว่าเป็นทางรอดของสังคมไทย
๒. ผู้รับผิดชอบโรงเรียนวิถีพุทธ  ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ๒๒๕ เขต เกิดการตื่นตัวที่จะเยี่ยมเยียน นิเทศ   โรงเรียนวิถีพุทธ เพื่อให้โรงเรียนสามารถนำหลักพุทธธรรมไปใช้ในการบริหารจัดการในโรงเรียนทั้งระบบ
๓. ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน ตระหนักถึงความสำคัญ เริ่มปรับตัวนำหลักพุทธธรรมเข้าไปใช้ในการบริหารจัดการทั้งระบบโรงเรียน รวมทั้งในการดำเนินชีวิตตนเอง ลด ละ เลิก อบายมุข
๔. นักเรียนได้เรียนรู้ และเริ่มปรับตัว  นำหลักพุทธธรรมไปปฏิบัติในวิถีชีวิต โดยเน้นการกิน อยู่  ดู ฟัง เป็นตามหลักไตรสิกขา เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข  นักเรียนมีมารยาท เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่   รู้จัก บาป บุญ คุณ โทษ  และช่วยกับสืบสานประเพณี  วัฒนธรรมของท้องถิ่น
๕. ผู้ปกครอง ชุมชน ชื่นชมยินดีให้การสนับสนุนงานของโรงเรียนมากขึ้นเกิดความสมานฉันท์ ของ บ้าน วัด โรงเรียน (บ ว ร) นำสู่ความสงบ และสันติสุขของสังคม

ด้านการจัดการความรู้ โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ( ๒๕๔๕ – ๒๕๕๖ ) 
๑. ให้มีผู้แทนของผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ ในทุกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อการประสานงาน สื่อสารอย่างรวดเร็ว เป็นระบบ  และจัดทำสมุดทำเนียบมีรูป ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรมือถือ แจกกับผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนวิถีพุทธทุกคน  โดยมีการประชุมรวมอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง และปรับปรุงทำเนียบใหม่ทุกครั้ง ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๖ ถึงปัจจุบัน
๒. ให้ทุกโรงเรียนมีกรรมการโรงเรียนวิถีพุทธ และมีผู้รู้ทางศาสนา (พระสงฆ์ หรือฆราวาส) เป็นที่ปรึกษาโรงเรียน ในการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ
๓. ในการอบรมปฐมนิเทศโรงเรียนวิถีพุทธ  สำหรับโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการใหม่  สพฐ. จัดทำ ชุดสื่ออบรมทางไกลให้โรงเรียนดำเนินการอบรมเอง (๑๓ หัวข้อ) โดยให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทุกครั้งที่จบแต่ละหัวข้อ  และก่อนจบการอบรมทางไกลให้ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยนิมนต์พระสงฆ์ซึ่งเป็นกรรมการมาร่วมวางแผนการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ
๔. สพฐ. จัดทำสื่อ ทั้งเอกสาร และวิดีโอ "แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ"  และสื่อเสริมความรู้ตั้งแต่เริ่มมีโครงการ ถึงปัจจุบัน  กว่า ๒๐ เรื่อง เพื่อเสนอให้โรงเรียนได้ศึกษาเรียนรู้  และประยุกต์ใช้ โดยไม่เป็นการบังคับ
๕. พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้ สพท. และโรงเรียนร่วมกันคัดเลือกโรงเรียนวิถีพุทธ ที่ดำเนินการได้ดี มีความ           ก้าวหน้า มีกิจกรรมน่าสนใจ สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้การปลูกฝังคุณธรรมแก่โรงเรียนอื่นๆ โดยให้ชื่อว่า "โรงเรียนวิถีพุทธกัลยาณมิตร "จำนวน ๒๐๖ โรงเรียน ( คิดสัดส่วนตามจำนวน รร.วิถีพุทธ ในแต่ละ สพท.)
๖. จัดทำจดหมายข่าว "เพื่อนร่วมทางโรงเรียนวิถีพุทธ" แจกโรงเรียนวิถีพุทธทั่วประเทศเพื่อเป็นสื่อกลางสำหรับโรงเรียนวิถีพุทธ
๗. พ.ศ. ๒๕๕๐ ให้ สพท. และโรงเรียนร่วมกันคัดเลือกโรงเรียนที่ดำเนินการได้ดี มีความก้าวหน้า                       มีกิจกรรมน่าสนใจ สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้การปลูกฝังคุณธรรมแก่โรงเรียนอื่นๆ โดยให้ชื่อว่า                  "โรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ " จำนวน ๓๕๒๐ โรงเรียน (๑๐ % ของโรงเรียนสังกัด สพฐ.) ส่วนใหญ่จะซ้ำกับโรงเรียนวิถีพุทธเดิม
๘. พ.ศ. ๒๕๕๐ สพฐ. จัดอบรมกระบวนการจัดการความรู้ให้แก่ ผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ ในทุกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยอาจารย์ทรงพล เจตนวณิชย์ เพื่อให้ผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนวิถีพุทธฯ ขยายผลการจัดการความรู้ด้านการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรรม ให้กับโรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ  ทั้ง ๓๕๒๐ โรงเรียน
๙.  โรงเรียนคุณธรรมชั้นนำแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ( หมุนเกลียว  ยกระดับ )ภายในโรงเรียน ในระยะเวลา ๔ เดือน ด้านการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรรม  โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้
๑๐. โรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ นำความรู้ และประสบการณ์ที่ หมุนเกลียว  ยกระดับ  ด้านการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรรมแล้วมานำเสนอโดยวิธีการเปิดบ้านโรงเรียนวิถีพุทธ ใช้เวลา ๒ วัน เน้นให้ ผู้มาเยี่ยมบ้าน ได้มาเห็นสภาพจริงและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโรงเรียนสภาพใกล้เคียงกัน (๑: ๘-๑๐ โรงเรียน)
๑๑. โรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ นำเสนอเรื่องราวที่ หมุนเกลียว  ยกระดับ  ความรู้ ประสบการณ์ด้านการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรรม ในชื่อหนังสือ "เรื่องเล่าเร้าพลัง" โดยเผยแพร่แลกเปลี่ยนกัน  ภายใน และภายนอกเขตพื้นที่การศึกษา
๑๒.  กิจกรรมแผนที่คนดี  เป็นการเรียนรู้เรื่องราวผู้ทำความดีและนำเสนอด้วยภาพประกอบเรื่อง ผ่านสื่อภาพเคลื่อนไหวหรือสื่อกระดาษ โดย สพฐ.ได้อบรมรองผอ.สพท. ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู ครูพระ นักเรียนประถม นักเรียนมัธยมประมาณ ๓,๐๐๐ รูป/คนและในปีงบประมาณ ๒๕๕๔ สพฐ ร่วมกับกระทรวงต่างประเทศ พัฒนาครูเพื่อให้นำกิจกรรมไปขยายผลกับนักเรียน ยุวทูตความดี ๘๔ โรงเรียน
๑๓. พ.ศ. ๒๕๕๐ สพฐ. จัดอบรมการบริหารด้วยใจอย่างใคร่ครวญ ( จิตตปัญญา) แก่ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู     ครูพระ ๘๙๐ รูป / คน โดยวิทยากรจากอาศรมศิลป์ มูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณเพื่อสร้างทีมคณะบริหารด้วยใจอย่างใคร่ครวญ ประจำ สพท. และให้ขยายผลดำเนินการใน สพท.เพื่อให้เกิดโรงเรียนที่บริหารด้วยใจอย่างใคร่ครวญ จำนวนกว่า ๕,๐๐๐ โรงเรียน
๑๔. พ.ศ. ๒๕๕๑ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู ครูพระ ๘๙๐ รูป / คน ที่ผ่านการอบรมการบริหารด้วยใจอย่างใคร่ครวญ ( จิตตปัญญา) หมุนเกลียว  ยกระดับ  ความรู้ ประสบการณ์ด้านการปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรรม  แล้วจับคู่ระหว่าง สพท. ได้ ๘๐ คู่ เพื่อเดินทางไปเยี่ยมกันและกันที่โรงเรียน จึงกลับมาหมุนเกลียว  ยกระดับ  ความรู้ ประสบการณ์ตนเอง อีกระดับหนึ่ง  แล้ว  จัดSymposium ร่วมกัน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิร่วมให้ต่อยอดความรู้
๑๕. พ.ศ. ๒๕๕๑ โรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ  ทั้ง ๓๕๒๐ โรงเรียน ดำเนินการซ้ำข้อ ๗ - ๑๑ โดยขยายผลเพิ่มเป็น ๓๐% ของโรงเรียนสังกัด สพฐ. ( ประมาณ ๙,๙๐๐ โรงเรียน )
๑๖. พ.ศ. ๒๕๔๙ – ปัจจุบัน สพฐ. ร่วมกับศูนย์คุณธรรม จัดกิจกรรมโครงงานคุณธรรม เยาวชนไทยทำดี ถวายในหลวง  โดยให้นร. รวมกลุ่มคิดหาวิธีการแก้ปัญหาสังคม โดยใช้แนวพระราชดำริและหลักธรรมในศาสนาที่ตนนับถือ โดยร่วมกันดำเนินการ ๘-๑๐ คนมีครู พระ และ ผอ.รร. เป็นที่ปรึกษา มีการประกวดคัดเลือกจากระดับโรงเรียน ระดับ สพท. ระดับกลุ่มภาคสงฆ์ ระดับประเทศ โดยทุกครั้งที่มีการนำเสนอ ได้จัดให้นร. และครูที่ปรึกษามาเข้าค่ายร่วมกัน และ พัฒนาต่อยอดความรู้ให้ทั้งครู และนร. ได้ประสบการณ์ และนำไปพัฒนาโครงงานของตนเองต่อไป พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นต้นมา
จนถึงปัจจุบัน กรกฎาคม ๒๕๕๔  มีโครงงานร่วมประกวดกว่า   ๑๐,๐๐๐ โครงงาน  มีการจัดทำสื่อเอกสารบันทึกความสำเร็จ และ วิดีทัศน์โครงงานคุณธรรม สำหรับครูที่ปรึกษา
๑๗. พ.ศ.๒๕๕๓ เป็นปีที่ สพฐ.จัดสรรงบประมาณไทยเข้มแข็งฯให้ตามแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ sp๒ โรงเรียนวิถีพุทธ และ โรงเรียนในสังกัดทุกแห่งจึงได้จัดดำเนินการอย่างน้อย ๓ เรื่องได้แก่ 
                ๑) ศูนย์ Give & Take เพื่อให้ นร.ทุกโรงเรียนได้เรียนรู้การเป็นผู้ให้ และ ผู้รับ  
                ๒) โครงงานคุณธรรมสำนึกดีCSR +โครงงานคุณธรรม ฯ เป็นการเสริมให้นักเรียนวาง
                    แผนการการทำดีอย่างมีทุนงบประมาณ ที่ได้มาจากปัญญาของนักเรียนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม 
                ๓) ค่ายพระ ครู ผู้ปกครอง เพื่อให้ทุกโรงเรียนได้สร้างความสัมพันธ์การมีส่วนร่วมกันในการ    
                    ดูแล ปกป้องนักเรียนให้อยู่ในศีลธรรมอันดีงาม
๑๘. นอกจากนั้นในปี พ.ศ.๒๕๕๓ ยังได้จัดให้มีโรงเรียนวิถีพุทธเน้นจิตอาสาซึ่งเป็นโรงเรียนที่ผู้บริหารสมัครใจให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการพัฒนาพฤติกรรม และ จิตใจด้านการเป็นอาสาสมัคร ขณะนี้ กรกฎาคม ๕๕ มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการประมาณ ๒๓๒ โรงเรียน เดือนมิถุนายน ๒๕๕๖ ได้ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโรงเรียนต้นแบบด้านคุณธรรม จริยธรรม บางมูลนากภูมิวิทยาคม จังหวัดพิจิตร
๑๙. พ.ศ.๒๕๕๓ –ปัจจุบัน  ได้พัฒนาโรงเรียนอีกกลุ่มที่สนใจการพัฒนานักเรียนโดยหลักการ “อริยะสร้างได้ ในโรงเรียนวิถีพุทธ “มีผู้ผ่านการอบรมทั้งที่เป็นผู้บริหาร และ ครู ไม่น้อยกว่า๑,๕๐๐ คน
๒๐. พ.ศ.๒๕๕๓ –ปัจจุบัน  เพื่อให้การสื่อสารเรื่องราวดีที่เกิดขึ้นในโรงเรียน เป็นแรงบันดาลใจแก่ผู้ที่พบเห็น ผู้ที่รับทราบ  เป็นแหล่งความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน สพฐ.จึงได้ขอความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดการเยี่ยม ประเมิน เสนอแนะ เพื่อการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ และ โรงเรียนวิถีพุทธ  ใน ๒ ปีงบประมาณจำนวนเกือบ ๔,๐๐๐ โรงเรียน อีกทั้งได้คัดเลือกโรงเรียนวิถีพุทธดีเด่น จำนวน ๑๐๐  โรงเรียน โดยคัดเลือกมาถึงปีที่ ๔ ปีละ ๑๐๐ โรงเรียน นอกจากนั้นได้ จัดทำข้อมูลเป็นเอกสาร และแผ่นCD  เผยแพร่ให้โรงเรียนอื่น  และ สพฐ. ยังจัดทำวารสาร “รู้ตื่นและเบิกบาน” ออกวารสารต่อเนื่องถึงปัจจุบัน  ส่งถึงทุกโรงเรียน และ  จัดทำวีดิทัศน์ โรงเรียนวิถีพุทธเพื่อเผยแพร่แก่โรงเรียนในสังกัด
๒๑. พ.ศ.๒๕๕๓ -๒๕๕๕ การพัฒนาอีกด้านหนึ่งที่ สพฐ.ให้ความสำคัญคือเรื่อง จิตวิญญาณความเป็นครู ซึ่งได้จัดให้มีกระบวนการพัฒนาทั้ง ๔ ภูมิภาค รวมไม่น้อยกว่า  ๑,๒๕๐ คนโดยวิทยากรที่มีประสบการณ์ เช่น มูลนิธิสดศรี สฤษฎิ์วงศ์ มูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ วิทยากรจาก สสส เป็นต้น
๒๒. คณะดำเนินงานได้สังเคราะห์ความรู้การดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธที่ดำเนินการต่อเนื่อง ๙ ปีได้เป็นบทสรุปว่าเงื่อนไขสำคัญที่โรงเรียนจะดำเนินการโรงเรียนวิถีพุทธ อย่างเป็นรูปธรรม มี ๒๙ ประการ สู่ความเป็นโรงเรียนวิถีพุทธปีที่ ๙ โดยได้สื่อสารเผยแพร่ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๓ และจะดำเนินการเยี่ยมประเมินการดำเนินการ ดูความพร้อม ส่งเสริมสนับสนุนให้โรงเรียนดำเนินการอย่างต่อเนื่องให้เห็นเป็นรูปธรรม  นำเป็นคะแนนในตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ARS
 
 
 
เว็บไซต์และข้อมูลของโรงเรียนทุกโรงเรียนในเว็บไซต์นี้ สงวนลิขสิทธิ์ การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์อื่นใด
ต้องได้รับการอนุญาต จากเจ้าของเว็บไซต์ก่อนเสมอ
 
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา(สนก.)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์ 02-288-5889-90 โทรสาร 02-288-5879
Powered by ThaiAppCenter.com ศูนย์รวมแอปมือถือไทย
โครงการสถานศึกษาวิถีพุทธ สำนักงานพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน หลักกิโลเมตรที่ 55 ตำบลลำไทร
อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13170
โทรศัพท์: 083 305 2392 |
เจ้าหน้าที่เว็บไซต์เข้าสู่ระบบ
พัฒนาเว็บไซต์โดย: สคูลจ๊อบ สมัครครู ประกาศรับสมัครครู สมัครงานโรงเรียน www.schooljob.in.th